กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจความพร้อมป้องกันน้ำท่วมเพชรบุรี

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจความพร้อมป้องกันน้ำท่วมเพชรบุรี

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แจ้งว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน โดยมี นางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายสมเกียรติ แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบุรี

ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหัวหน้าส่วนราชการลงพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอบ้านแหลม อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ ในเพชรบุรีวันนี้ติดตามการบริหารจัดการน้ำและความพร้อมในการป้องกันอุทกภัยของจังหวัดเพชรบุรี โดย ดร.เฉลิมชัยกล่าวว่า วันนี้ตนได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี ให้ลงพื้นที่มาติดตามแก้ไขปัญหาอุทกภัย จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เน้นการทำงานเชิงรุกบูรณาการทุกภาคส่วนขับเคลื่อน 13 มาตรการ 5 แนวทาง พร้อมติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดพร้อมปฏิบัติการ 24 ชั่วโมง เพื่อความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็ว

จะต้องตรวจสอบความพร้อมของอาคารชลประทานและพนังกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งวางเครื่องสูบน้ำประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ตลอดจนการบริหารน้ำในอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน อ่างเก็บแม่ประจันต์และอ่างเก็บน้ำน้ำห้วยผากให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยในจังหวัดเพื่อการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดจำนวน 6 จุด ได้แก่ พื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำเพชรบุรี ใน อ.บ้านลาด อ.เมือง และ อ.บ้านแหลม จึงได้ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณดังกล่าว และในพื้นที่เสี่ยงภัยอื่นในจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 17 ตำบล 6 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 45 หน่วย และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 44 หน่วย รวมเครื่องมือเครื่องจักรจำนวน 89 หน่วย ดำเนินการขุดลอกวัชพืชผักตบชวาในคลอง 19 คลองหลัก และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องดันน้ำลงทะเลพร้อมปฏิบัติการทันที

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจความพร้อมป้องกันน้ำท่วมเพชรบุรี

นายอลงกรณ์กล่าวรายงานว่า กรมชลประทานและจังหวัดเพชรบุรี ได้บริหารจัดการน้ำและเตรียมความพร้อมล่วงหน้าถึง 3 เดือน ภายใต้เพชรบุรีโมเดลและนโยบายของรัฐมนตรีเกษตรฯ โดยความร่วมมือจากหน่วยงานชลประทานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงจังหวัด อบต. กำนันผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชุมและลงพื้นที่เพื่อเตรียมพร้อมร่วมกับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยจังหวัดเพชรบุรีมีการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ทั้งการเพิ่มความจุแหล่งเก็บกักน้ำ ขุดลอกคูคลอง จัดการสิ่งกีดขวางทางน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และผลักดันน้ำ เพื่อให้น้ำลงทะเลให้ไวที่สุด หากสามารถบริหารจัดการน้ำได้ดีในตอนต้น ก็จะสามารถป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ได้

พร้อมกันนี้ นายอลงกรณ์ยังได้ให้ข้อเสนอสำหรับการบริหารจัดการน้ำ และการแก้ไขเพื่อป้องกันเหตุอุทกภัยของจังหวัดเพชรบุรี ดังนี้

1.การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนเพชรเกษมทำให้การจราจรติดขัด รถเคลื่อนตัวได้ช้า เกิดปัญหาเป็นประจำในทุกๆ ปี ล่าสุดคือ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จึงเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยการขยายขนาดคลองส่งน้ำสายเพชรบุรี-หัวหินเลียบขนานถนนเพชรเกษมฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นคลองขนาดเล็ก 2 คลอง ให้เป็นคลองใหญ่ 1 คลอง สามารถป้องกันน้ำท่วมถนนเพชรเกษมและเป็นคลองส่งน้ำในยามหน้าแล้ง

2.การปรับปรุงระบบส่งน้ำของเขื่อนเพชร ที่มีการก่อสร้างมาแล้วนานกว่า 60 ปี โดยให้มีการศึกษา เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำและขยายพื้นที่การเกษตรรวมทั้งแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ปลายน้ำ

3.โครงการพัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่ปลายน้ำชายทะเล 43,000 ไร่ ตั้งแต่อำเภอชะอำ ท่ายาง เมืองและบ้านแหลม เป็นพื้นที่ขนานถนนคลองโคน-ชะอำซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมาตลอด

4.โครงการชลประทานตำบลโดยชุมชนเพื่อชุมชนทุกตำบลในเพชรบุรีโดยการสนับสนุนของกรมชลประทานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายกรมชลประทานรับไปพิจารณาดำเนินการ และให้ทุกหน่วยงานบูรณาการทำงานร่วมกันในการบริหารจัดการน้ำและการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันเหตุอุทกภัยของจังหวัดเพชรบุรีต่อไป

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ elif-ceyiz.com

ufa slot

Releated